“เฉินหลง” ชวนชาวจีนและเวียดนามเลิกบริโภคเนื้อและเกล็ดตัวลิ่น
‘เฉินหลง’ ชวนชาวจีน และเวียดนามเลิกบริโภคเนื้อและเกล็ดตัวลิ่น ในโฆษณารณรงค์ชิ้นล่าสุด “ตัวลิ่นยอดกังฟู” จากองค์กรไวล์ดเอด
23 สิงหาคม 2560 – องค์กรไวล์ดเอด (WildAid) และองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติ เดอะ เนเจอร์ คอนเซอร์แวนซี (The Nature Conservancy) เปิดตัวโฆษณารณรงค์ที่มี ‘เฉินหลง’ ดาราชื่อดัง และทูตรณรงค์ขององค์กรไวล์ดเอดนำแสดงในวันนี้ เพื่อเชิญชวนให้ชาวจีน และเวียดนามเลิกบริโภค ผลิตภัณฑ์จากตัวลิ่น
ในโฆษณารณรงค์ความยาว 47 วินาทีที่ใช้ชื่อว่า “กังฟู แพงโกลิน” หรือ “ตัวลิ่นยอดกังฟู” เฉินหลงพยายาม สอนวิชาป้องกันตัวเองให้ตัวลิ่นเพื่อให้รอดพ้นจากการถูกล่า แต่ลิ่นปกป้องตัวเองได้เพียงแค่ม้วนตัวเป็น ลูกกลมๆ เท่านั้น
ลิ่น เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ถูกลักลอบค้ามากที่สุดในโลก ในขณะที่คนจำนวนมากไม่รู้จักสัตว์ชนิดนี้ มีการประมาณการว่ามีตัวลิ่นมากถึง 100ล้านตัวถูกฆ่าในช่วง 1 ทษวรรษที่ผ่านมา โดยธรรมชาติของตัวลิ่น เมื่อรู้ว่ากำลังมีภัยคุกคาม มันจะม้วนตัวเป็นลูกกลมๆ ทันทีโดยไม่วิ่งหนี ทำให้มันเป็นสัตว์ที่ถูกล่า ได้อย่างง่ายดาย
ในประเทศจีน และเวียดนาม เนื้อของลิ่นถูกนำไปประกอบอาหาร และเกล็ดของมันนำไปเป็นส่วนประกอบ ในยาแผนโบราณโดยยังมีคนจำนวนหนึ่งเชื่อว่า เกล็ดของมันสามารถรักษาโรคที่เกี่ยวกับข้อ อาการทาง ผิวหนัง หรือแม้กระทั่งโรงมะเร็ง ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง เกล็ดของตัวลิ่นมีเคราตินเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งพบได้ในเส้นผมและเล็บของมนุษย์เช่นกัน และไม่ได้มีสรรพคุณทางยาใดๆ
ในโฆษณารณรงค์ เฉินหลงบอกด้วยว่า ขณะนี้ตัวลิ่นทุกสายพันธุ์ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายแล้ว และขอเชิญชวนให้ชาวจีน และชาวเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศผู้บริโภคหลัก เลิกบริโภคเนื้อและเกร็ด ของตัวลิ่น เพราะหยุดซื้อ คือ หยุดฆ่า
“ไม่น่าเชื่อเลยว่า ทุกวันนี้ยังมีคนที่กินสัตว์ป่าอย่างตัวลิ่น จนทำให้มันใกล้จะสูญพันธุ์ ผมหวังว่า เราจะสามารถโน้มน้าวให้ทุกคนเห็นว่าการบริโภคสัตว์ป่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง” เฉินหลงกล่าว
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ที่ประชุมอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้ สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส มีมติคุ้มครองตัวลิ่น โดยขึ้นทะเบียนตัวลิ่นที่มีอยู่ทั้งหมด 8สายพันธุ์ในโลก อยู่ในบัญชีที่ 1 (Appendix I) สำหรับสัตว์ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งห้ามการค้าตัวลิ่นและชิ้นส่วน ระหว่างประเทศ
“ความจำเป็นเร่งด่วนของการอนุรักษ์ตัวลิ่น ก็คือการรณรงค์เพื่อลดความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์จาก ตัวลิ่น และการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิด” มร.ปีเตอร์ ไนท์ส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารองค์กรไวล์ดเอดกล่าว
ประเทศไทย ถือเป็น 1 ในประเทศทางผ่านของเส้นทางการลักลอบค้าตัวลิ่น โดยที่ผ่านมา มีประเทศต้นทางคืออินโดนิเซีย และใช้เส้นทางผ่านมาเลเซีย เข้ามาที่ไทยที่จังหวัดสงขลา และสิ้นสุดที่จีน หรือเวียดนาม แต่ขณะนี้เริ่มมีการลักลอบค้าตัวลิ่นที่มีต้นทางมาจากทวีปแอฟริกามากขึ้น โดยที่แอฟริกากลาง มีการประเมินล่าสุดพบว่า มีตัวลิ่นถูกล่าราว 400,000ตัวต่อปี