2018
แหม่ม คัทลียา ทูตไวล์ดเอดชวนคนไทย ‘ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง’ ในวันช้างโลก
แหม่ม คัทลียา ทูตไวล์ดเอดชวนคนไทย ‘ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง’ ในวันช้างโลก
กรุงเทพมหานคร (10 สิงหาคม 2561) – องค์กรไวล์ดเอด เปิดตัววิดีโอรณรงค์ชิ้นล่าสุด ที่มีคุณแหม่ม คัทลียา แมคอินทอช นักแสดงและพิธีกรชื่อดังและทูตองค์กร เป็นตัวแทนบอกเล่าถึงสายสัมพันธ์ อันใกล้ชิดระหว่างแม่กับลูกช้าง และผลกระทบที่น่าเศร้าจากความต้องการซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์งาช้าง เนื่องในวันช้างโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติของไทยอีกด้วย
ช้าง เป็นสัตว์ที่มีสัญชาติญาณความเป็นแม่ที่แรงกล้า สายสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกช้าง ถือว่ามีความผูกพันใกล้ชิดมากกว่าสัตว์ทั่วไป แม่ช้างใช้เวลาอุ้มท้องนานถึง 22 เดือน หรือเกือบ 2 ปี และยังต้องใช้เวลานานกว่า 2 ถึง 4 ปีในการเตรียมความพร้อมร่างกายเพื่อที่จะมีลูกสักหนึ่งตัว แต่ทุกปีมีช้างมากถึง 33,000ตัว ถูกฆ่าเพื่อเอางาในทวีปแอฟริกา ทำให้ในหลายๆ ประเทศ อัตราการตายของช้างจึงสูงกว่าจำนวนช้างแรกเกิด
“ความต้องการงาช้างในเอเชียกำลังเพิ่มอัตราการสูญเสียของช้างแอฟริกา ในฐานะแม่ แหม่มขอพูดถึงบทบาทของแม่ช้างที่มีความสำคัญมากต่อการอยู่รอดของลูกช้าง อย่างที่ไม่มีอะไรมาทดแทนได้เช่นเดียวกับมนุษย์ ลูกช้างเพศเมียจะอยู่ใกล้ชิดกับแม่ของมัน จนลมหายใจสุดท้าย แต่มนุษย์กลับใช้เวลาแค่ไม่กี่นาทีคร่าชีวิตช้างเพียงเพื่องา แหม่มขอชวนทุกคนช่วยกันแชร์คลิปวิดีโอนี้ เพื่อแสดงพลังที่มีต่อช้างไม่ว่าที่ไหนในโลก เผยแพร่ให้เยาวชนได้เห็นสายใยทีี่ใกล้ชิดระหว่างครอบครัวช้าง เนื่องในวันช้างโลก และวันแม่ และร่วมกันยุติการฆ่าช้างเอางาด้วยการเลิกซื้อ เลิกใช้ และเลิกรับผลิตภัณฑ์งาช้าง” คุณคัทลียา กล่าว
ในขณะที่ช้างเอเชียเพศผู้เท่านั้นที่จะมีงา ช้างแอฟริกาจะพบงาได้ทั้งในเพศผู้และเพศเมีย ทำให้ ทำให้ทั้งโขลง/ครอบครัวช้าง ตกเป็นเป้าหมายของการถูกล่า และลูกช้างซึ่งยังไม่มีงาจะตกอยู่ในอันตรายจนกว่าจะได้รับความช่วยเหลือ จากหน่วยงานที่รับดูแลลูกช้างกำพร้า วิดีโอรณรงค์ ‘ช้างไม่ลืม’ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากคำบอกเล่าและการศึกษาวิจัยที่พบว่า ช้างเป็นสัตว์ที่มีความจำเป็นเลิศ โดยคุณแหม่ม คัทลียา พูดถึงลูกช้างในแอฟริกาต้องกำพร้า เพราะพ่อ และแม่ของมันถูกฆ่าเอางา เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่จำเป็นของมนุษย์ และชวนให้ทุกคน #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง ด้วยการหยุดซื้อ หยุดใช้ และหยุดรับผลิตภัณฑ์งาช้าง
ช้าง เป็นสัตว์ประจำชาติของไทย การอนุรักษ์และปกป้องช้าง จึงถือเป็นความภาคภูมิใจ และเป็นสิ่งที่ ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน รัฐบาลไทยดำเนินมาตรการหลายอย่าง เพื่อคุ้มครองช้างและแก้ปัญหา การค้างาช้างผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี 2558 ไทยออกพระราชบัญญัติงาช้าง เพื่อควบคุมตลาดค้างาช้างถูกกฎหมายที่มาจากช้างบ้านของไทยที่เป็นช้างเอเชียเท่านั้น และรัฐบาลยังได้แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้ช้างแอฟริากันเป็น 1 ในสัตว์คุ้มครองของไทย มีผลห้ามการซื้อขายหรือครอบครองงาช้างแอฟริกัน
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือไอยูซีเอ็น (IUCN) ประเมินว่า ประชากรช้างแอฟริกันลดลงราว 110,000 ตัวในช่วง 10ปีที่ผ่านมา แม้แนวโน้มการฆ่าช้างแอฟริกันจะลดลงจากจุดสูงสุดเมื่อปี พ.ศ.2554 แต่จำนวนช้างที่ถูกฆ่ายังอยู่ในระดับสูงเมื่อดูภาพรวมทั้งทวีป และประชากรช้างแอฟริกันยังคงมีแนวโน้มลดลงเมื่อดูจากจำนวนในปี พ.ศ.2559
ตราบใดที่ยังมีความต้องการและการยอมรับการใช้ผลิตภัณฑ์งาช้างอยู่ในสังคม ประชากรช้างท่ัวโลก ก็จะยังตกอยู่ในความเสี่ยงท่ีจะสูญพันธุ์ “การลดความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์งาช้าง ถือเป็นหัวใจสําคัญขององค์กรไวล์ดเอดในการยุติการฆ่าช้างเอางา เราหวังว่าการสร้างความตระหนักให้คนรับรู้ถึงความโหดร้ายที่อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์งาช้าง จะทําให้สังคมหันหลังให้กับ การซื้อ การใช้ผลิตภัณฑงาช้างมากยิ่งขึ้น เพราะหยุดซื้อ คือ หยุดฆ่า” มร.จอห์น เบเกอร์ ผู้อำนวยการโครงการรณรงค์องค์กรไวล์ดเอด กล่าว
2018
กลุ่มเอ็นจีโอเรียกร้องเร่งดำเนินคดีซีอีโอและพวกตามกระบวนการยุติธรรม
กลุ่มเอ็นจีโอเรียกร้องเร่งดำเนินคดีซีอีโอและพวกล่าสัตว์ป่าคุ้มครองตามกระบวนการยุติธรรม
“ต้องไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย”
7 กุมภาพันธ์ 2561 – กลุ่มเอ็นจีโอด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ที่ประกอบไปด้วย มูลนิธิฟรีแลนด์ มูลนิธิโลกสีเขียว มูลนิธิรักสัตว์ป่า เครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า (ทราฟฟิค) องค์กรไวล์ดเอด และ กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature)ร่วมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเร่งดำเนินคดีซีอีโออิตาเลียนไทยและพวกคดีล่าสัตว์ป่าคุ้มครองตามกระบวนการ ยุติธรรม แนะพิจารณาเพิ่มบทลงโทษคดีล่าสัตว์ป่า พร้อมทั้งให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญในพื้นที่เกิดเหตุ
“เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรคือมรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทย ไม่มีใคร และไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร มีสิทธิ์ละเมิด หรือมีเอกสิทธิ์อยู่เหนือกฎหมาย มีการประเมินว่าประชากรเสือดำ หรือเสือดาวอินโดจีน (Indo-Chinese leopard/Panthera pardus delacouri) มีอยู่เพียง 2,500ตัวทั่วภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้จัดให้มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ตามรายชื่อชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) คดีดังกล่าวไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการบังคับใช้กฎหมาย อย่างกล้าหาญของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในพื้นที่ แต่สะท้อนว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาว่าบทลงโทษผู้กระทำผิด เพียงพอที่จะทำให้คนเกรงกลัวการล่าสัตว์ป่าหรือไม่”
“กลุ่มเอ็นจีโอหวังที่จะเห็นผู้รักษากฎหมายดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตามกระบวนการยุติธรรมโดยเร็ว และหวังว่า ทุกฝ่ายจะเห็นความสำคัญและสนับสนุนงานด้านการพิทักษ์ป่า การต่อต้านและปราบปรามการลักลอบล่าสัตว์ป่า เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ที่ทำงานอยู่ในพื้นที่สามารถป้องกันและตรวจจับคดีลักษณะนี้ในอนาคต”
About Freeland
Freeland is a frontline counter-trafficking organization working for a world that is free of wildlife trafficking and human slavery. Our team of law enforcement, development and communications specialists work alongside partners in Asia, Africa and the Americas to build capacity, raise awareness, strengthen networks and promote good governance to protect critical ecosystems and vulnerable people. www.freeland.org
About Green World Foundation
Green World Foundation under the Royal Patronage of H.R.H Princess Galyani Vadhana Kromluang Naradhivas Rajanagarindra. Founded in 1991, the Green World Foundation is a non-profit organisation which collaborates closely with youth, educators. practitioners, and community leaders throughout Thailand to inspire the development and adoption of environmental ethics, and strengthen the capacity for proactively contributing to the sustainable care of the local environments. www.greenworld.or.th
About Love Wildlife
Love Wildlife is a Thai registered non-profit organization dedicated to the protection of Southeast Asian wildlife though education and outreach. Love Wildlife works to optimise quality of life of captive wild animals by improving their living conditions as well as striving to keep wild born animals free in their natural homes through various projects. We work hard at educating the younger generations about the importance of wildlife and their connection to the world we all live in. www.lovewildlife.org
About TRAFFIC
TRAFFIC, the wildlife trade monitoring network, works to ensure that trade in wild plants and animals is not a threat to the conservation of nature. TRAFFIC is a strategic alliance of IUCN and WWF. www.traffic.org
About WildAid
WildAid is a nonprofit organization with a mission to end the illegal wildlife trade in our lifetimes. While most conservation groups focus on directly protecting wildlife from poaching, WildAid primarily works to reduce global consumption of wildlife products, such as shark fin and elephant ivory, by changing attitudes and behavior, and providing comprehensive enforcement of marine sanctuaries. In Asia, where demand for ivory is highest, WildAid runs its Ivory Free campaigns in China, Hong Kong and Thailand. With a global media partner network and a team of celebrity ambassadors including Prince William, Yao Ming and Lupita Nyong’o, WildAid leverages over $200 million in annual pro bono media support with a simple yet powerful message: When the Buying Stops, the Killing Can Too. For more information, visit http://www.wildaid.org/ www.ivoryfreethai.org www.facebook.com/wildaidthailand
About World Wide Fund for Nature
WWF is one of the world’s largest and most respected independent conservation organizations, with over 5 million supporters and a global network active in over 100 countries. WWF’s mission is to stop the degradation of the Earth’s natural environment and to build a future in which humans live in harmony with nature, by conserving the world’s biological diversity, ensuring that the use of renewable natural resources is sustainable, and promoting the reduction of pollution and wasteful consumption. www.worldwildlife.org
2018
ไวล์ดเอดตั้งเป้าชวนคนไทยลดละเลิกหูฉลาม-งาช้างปีนี้
ไวล์ดเอดตั้งเป้าชวนคนไทยลดละเลิกหูฉลาม-งาช้างปีนี้
สัตว์ป่าหลายชนิดกำลังเผชิญวิกฤตและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากความต้องการผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าที่ไม่ จำเป็นของมนุษย์ ทุกๆปี มีช้างมากถึง 33,000ตัวถูกฆ่าเพื่อเอางา และครีบของฉลามมากถึง 73ล้านตัว ถูกนำไปทำเป็นซุปหูฉลามหรือเมนูอาหารอื่นๆ ประเทศไทยเป็นทั้งจุดหมายปลายทางและทางผ่านของงาช้างผิดกฎหมายและผลิตภัณฑ์หูฉลาม ในปี 2560 ไวล์ดเอดเดินหน้าโครงการรณรงค์เพื่อชวนคนไทย เลิกซื้อ- เลิกใส่ผลิตภัณฑ์งาช้างอย่างต่อเนื่อง และยังได้เริ่มหยิบยกผลกระทบจากการบริโภคหูฉลาม ให้เป็นที่สนใจในสังคมไทยมากขึ้นด้วย
โครงการรณรงค์เพื่ออนุรักษ์ช้างขององค์กรไวล์ดเอด มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างความตระหนักให้คนไทย รับรู้ถึงวิกฤตการณ์ฆ่าช้างเอางามากขึ้น ลดความต้องการซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์งาช้าง และผลักดันให้ไทย เดินหน้าสู่การปิดตลาดค้างาช้างในประเทศ
เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2560 ในวันช้างไทย องค์กรไวล์ดเอดผนึกกำลังนักธุรกิจชั้นนำของไทย 15 ท่านลงนามให้คำมั่นไม่ซื้อ ไม่ใช้ และไม่รับผลิตภัณฑ์งาช้างและสัตว์ป่าอื่นๆ ถือเป็นการสร้างแนวร่วมและการสนับสนุนจากภาคธุรกิจของไทย เพื่อลดความต้องการผลิตภัณฑ์งาช้าง และแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วย กับการค้างาช้าง
และจากความสำเร็จของการเปิดตัวโครงการผู้นำธุรกิจยืนหยัดปกป้องช้าง ในเดือนกันยายน พ.ศ.2560 องค์กรไวล์ดเอด และยูเอสเอด ไวล์ดไลฟ เอเชีย ร่วมกันเปิดตัวโครงการรณรงค์ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง (ไอ แอม ไอวอรี่ฟรี) เพื่อให้คนไทยร่วมเป็นพลังยุติการฆ่าช้างเอางา และหันหลังให้กับการซื้อการใช้ ผลิตภัณฑ์งาช้าง
ผู้มีอิทธิพลทางสังคมของไทยมากกว่าร้อยคน ทั้งดารา หมอดู ผู้นำทางศาสนา นักการเมือง นักกีฬาและอื่นๆ ร่วมกันแสดงจุดยืน #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง พร้อมกันผ่านโซเชียลมีเดีย รวมถึงคนไทยมากกว่า 15,000คน ที่สร้างรูปคู่ช้างและแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียกันอย่างคึกคัก
ปี 2560 โครงการของไวล์ดเอดในไทยยังได้เริ่มสร้างความตระหนักให้คนไทยรับรู้ถึงผลกระทบ ของการบริโภคหูฉลามที่มีต่อประชากรฉลามโลก โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อโน้มน้าวให้คนไทยเลิกบริโภค หูฉลามเพื่อประเมินความตระหนักของคนไทยที่มีต่อฉลามและการค้าหูฉลาม ทำความเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อ การบริโภค และหาแนวทางโน้มน้าวให้คนเลิกบริโภคหูฉลาม ไวล์ดเอดได้ทำการสำรวจทางออนไลน์ กับคนไทยที่อยู่ในเขตเมืองใหญ่ทั่วประเทศ การสำรวจพบว่าคนไทยในเขตเมืองบริโภคหูฉลาม อย่างแพร่หลาย โดยคนไทย 57% เคยบริโภคหรือยังคงบริโภคหูฉลามอยู่ ขณะที่คนไทย 61% ต้องการบริโภคหูฉลามในอนาคต ผลสำรวจถือเป็นสัญญาณที่น่าเป็นห่วงต่อประชากรฉลามโลก
เรานำเสนอผลสำรวจที่น่าเป็นห่วงนี้ผ่านอินโฟกราฟิกเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง โดยได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรของเรา เพื่อยกระดับผลกระทบจากการบริโภคหูฉลาม ให้เป็นที่พูดถึงในหมู่สาธารณชนและสื่อมวลชนมากขึ้น
นอกจากนี้ เรายังได้รับการสนับสนุนจากเพจรีวิวอาหารชื่อดังร่วมแชร์ข้อความโน้มน้าวให้คนไทยละเลิก บริโภคหูฉลามในช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงที่นิยมบริโภคหูฉลามอย่างแพร่หลายอีกด้วย
ปีพ.ศ.2561 ไวล์ดเอดยังคงดำเนินโครงการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับภาครัฐและพันธมิตรเพื่อยุติความต้องการผลิตภัณฑ์งาช้างและการบริโภคหูฉลามในไทย
ร่วมมือกับเรา หยุดซื้อ คือ หยุดฆ่า
2017
จีนปิดตลาดงาช้าง เหยา หมิงรณรงค์ซื้อ-ขายงาช้างผิดกฎหมายแล้ว
จีนปิดตลาดงาช้าง เหยา หมิง รณรงค์ซื้อ–ขายงาช้างผิดกฎหมายแล้ว
28 ธันวาคม 2560 – ประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดค้างาช้างผิดกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ออกกฎหมายปิดตลาดค้า งาช้างอย่างสมบูรณ์ มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2561 ขณะที่องค์กรไม่แสวงผลกำไรเพื่อยุติการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ไวล์ดเอด (WildAid) เปิดตัวโฆษณารณรงค์ชิ้นใหม่ โดยมีนายเหยา หมิง อดีตนักบาสเกตบอลเอ็นบีเอชชาวจีน และทูตขององค์กรร่วมรณรงค์ให้ชาวจีนตระหนักว่า นับตั้งแต่ปีใหม่นี้การซื้อ-ขายงาช้างในจีนผิดกฎหมายแล้ว
โฆษณารณรงค์ซึ่งมีนายเหยา หมิง เป็นผู้ดำเนินเรื่อง รวมถึงบิลบอร์ดที่เปิดตัวพร้อมกันทั่วประเทศจีน จึงมีเป้าหมายเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชาวจีนได้ทราบถึงกฎหมายใหม่ของรัฐบาลจีน พร้อมสร้างความตระหนักแก่ชาวจีน ที่มองว่าผลิตภัณฑ์งาช้างเป็นสินค้าที่มีราคา แต่เบื้องหลังการได้มาซึ่งงาช้างที่แท้จริงมาจากการฆ่าช้างเอางาในทวีป แอฟริกาปีละมากถึง 30,000ตัว
การที่จีนออกมาประกาศในช่วงปลายปี 2559 ว่าจะเดินหน้ายุติการค้างาช้างได้ส่งผลให้ราคาซื้อขายและการฆ่าช้างเอางา มีแนวโน้มลดลง นอกจานั้นการตรวจยึดงาช้างนำเข้าผิดกฎหมายในจีนลดลงไปถึงร้อยละ 80 รวมถึงราคาขายงาช้างดิบ ลดลงไปร้อยละ 65 ในขณะที่ความพยายามบังคับใช้กฎหมายในหลายๆ พื้นที่ในทวีปแอฟริกาและเอเชียกำลังได้ผลมากขึ้น ซึ่งนายปีเตอร์ ไนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารองค์กรไวล์ดเอด (WildAid) บอกว่านี่คือ “ก้าวที่ยิ่งใหญ่ ในการลดจำนวนช้างที่ถูกฆ่าเพื่อเอางา”
“องค์การสหประชาชาติเองก็มีมติเป็นเอกฉันท์เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ประกาศปิดตลาดค้างาช้างของตนเอง ซึ่งหลายประเทศดำเนินตามแล้ว เราสนับสนุนให้ประเทศญี่ปุ่น และไทย พิจารณาเปลี่ยนจุดยืน และเดินหน้าสู่การปิดตลาดค้างาช้างในประเทศ ตามทิศทางของประเทศอื่นๆในโลกเช่นกัน” นายไนท์ส กล่าวเพิ่ม
นโยบายสำคัญของรัฐบาลจีนในครั้งนี้ จะส่งผลให้โรงงานแกะสลักงาช้างและร้านค้างาช้างถึง 172 แห่ง ต้องปิดตัวลง ภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้
“การสั่งปิดตลาดค้างาช้างของรัฐบาลจีน มีความสำคัญต่อชีวิตช้างเป็นอย่างมาก” นายปีเตอร์ ไนท์ กล่าว “หลังจากที่สหรัฐอเมริกาก้าวถอยหลังจากการเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ บทบาทนำของประเทศจีนถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง”
ในช่วงปี 2560 ราคาผลิตภัณฑ์งาช้างทั่วประเทศจีนลดลงไป 65% จากราคาที่เคยขึ้นไปสูงสุดเมื่อปี 2557 โดยร้านค้า หลายแห่งเสนอส่วนลดอีกมากถึง 50% จากราคาที่ลดอยู่แล้ว
ในหลายๆ เมืองของจีน มีการติดประกาศลดราคาผลิตภัณฑ์งาช้างที่มีอยู่ในคลัง เนื่องจากผู้ค้ารายย่อยต้องการระบายผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ก่อนที่การปิดตลาดค้างาช้างจะมีผลบังคับใช้อย่างจริงจัง
นอกจากนี้ สำนักงานกิจการป่าไม้แห่งชาติของจีน หรือ State Forestry Administration รายงานว่า การตรวจยึดงาช้างผิดกฎหมายในประเทศจีนลดลงไปถึงร้อยละ 80 ในปี 2559 เมื่อเทียบกับจำนวนการตรวจยึด หลายปีก่อนหน้า ขณะที่เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ศุลกากรในเขตปกครองตนเองกว่างซียึดงาช้าง 165 กิ่ง จากครอบครัวหนึ่งในแถบชนบท โดยงาช้างจำนวนดังกล่าวมีน้ำหนักรวมกว่า 360 กิโลกรัม และมีมูลค่าสูงถึง 4.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 145 ล้านบาท การตรวจยึดในครั้งนั้นบ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนใช้การสืบสวนร่วมกับหน่วยข่าวกรอง เพื่อให้การจับกุมเครือข่ายการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น มากกว่าการตรวจยึดการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ในแถบชายแดนเพียงอย่างเดียว
credit : Kristian Schmidt
เมื่อปี 2555 อดีตนักบาสเกตบอลดาวรุ่งแห่งเอ็นบีเอ เหยา หมิง ร่วมกับองค์กรไวล์ดเอด ผลิตสารคดีเกี่ยวกับการฆ่าช้าง เอางาเป็นครั้งแรก เพื่อออกอากาศทั่วประเทศจีนผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน หรือ ซีซีทีวี
นอกจากนี้ เหยา หมิง และองค์กรไวล์ดเอด ยังได้ร่วมมือกับองค์กร African Wildlife Foundation และองค์กร Save the Elephants เปิดตัวโครงการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักต่อสาธารณชนที่ใหญ่ที่สุดโครงการหนึ่ง โดยได้รับการสนับสนุน พื้นที่สื่อฟรีจากทั้งภาครัฐและเอกชนในจีนคิดเป็นมูลค่ากว่า 180 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกือบ 6พันล้านบาท ระหว่างปี 2556-2559 โดยผลการสำรวจขององค์กรไวล์ดเอดในปี 2560 พบว่า ชาวจีนตระหนักว่าผลิตภัณฑ์งาช้างมีที่มาจากการฆ่าช้าง เอางาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
ในปี 2557 เหยา หมิงได้ยื่นหนังสือต่อสภาประชาชนแห่งชาติของประเทศจีนเรียกร้องให้ยุติการซื้อขายงาช้างในประเทศ และในปีเดียวกันนั้นรัฐบาลจีนก็ได้ทำลายงาช้างของกลางเป็นครั้งแรก แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงท่าทีของรัฐบาล และด้วยความร่วมมือกันอย่างแข็งขันกับคณะทำงานของรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ตัดสินใจประกาศจะปิดตลาดค้างาช้างในประเทศจีนเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2559
ไม่เพียงแค่เหยา หมิง แต่ยังมีศิลปิน นักแสดง ผู้มีชื่อเสียงจากหลากหลายวงการทั่วโลกร่วมสนับสนุนโครงการรณรงค์ “Ivory Free” ด้วยได้แก่ เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์, เดวิด เบ็คแฮม, หลี่ ปิงปิง, เจย์ โชว์, หลาง หล่าง, เจียง เหวิน, ลูปิต้า เอ็นยองโก, แม็คกี้ คิว, เซอร์ริชาร์ด แบรนสัน, เอ็ดเวิร์ด นอร์ตัน, เอียน โซเมอร์ฮอลเดอร์ นักแสดงจากซีรีส์ The Vampire Diaries เป็นต้น
สื่อรณรงค์หลากหลายประเภทที่มีทูตขององค์กรไวล์ดเอด ได้ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวางในประเทศจีน ผ่านเครือข่ายวิทยุ โทรทัศน์กว่า 25 แห่ง รวมทั้งสื่อวีดิทัศน์กลางแจ้ง โรงภาพยนตร์ และบิลบอร์ดหลายพันแห่งครอบคลุมกว่า 20 เมืองใหญ่ในประเทศจีน
นอกจากประเทศจีนแล้ว หลายประเทศก็ดำเนินมาตรการต่างๆ ที่อาจนำไปสู่การปิดตลาดค้างาช้างในประเทศของตน เช่นเดียวกัน
- สหรัฐอเมริกาได้เริมกระบวนการยุติการซื้อขายงาช้างในประเทศแล้ว
- สภานิติบัญญัติฮ่องกงได้ทำการทบทวนร่างแผนดำเนินการปิดตลาดค้างาช้างของรัฐบาล และคาดว่าจะทราบผล การลงคะแนนเสียงร่างแผนดังกล่าวเป็นขั้นตอนสุดท้ายในต้นปี 2561
- รัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศว่ากำลังพิจารณาแผนการปิดตลาดค้างาช้างในประเทศอย่างสมบูรณ์
- ไต้หวันกำลังทบทวนตัวบทกฎหมายและดำเนินการปราบปรามผู้ค้างาช้างผิดกฎหมาย บ่งชี้ว่าไต้หวันเตรียมจะประกาศปิดตลาดค้างาช้างให้ได้ในปี 2563
- สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงออกพระราชบัญญัติงาช้างเพื่อควบคุม การค้างาช้างในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และตั้งแต่พระราชบัญญัติงาช้างมีผลบังคับใช้ มีร้านค้างาช้างร้อยละ 42 (91ร้าน) ได้ยื่นขอยกเลิกการค้างาช้างด้วยความสมัครใจนับจนถึงกลางปี 2560 และการซื้อขายงาช้างถูกกฎหมายที่ได้ขึ้น ทะเบียนแล้วก็ลดลงไปร้อยละ 58 เปรียบเทียบกับกลางปี 2559 นอกจากนี้ผู้ค้างาช้างที่มีใบอนุญาตใน กรุงเทพมหานครต่างรายงานว่า ไม่มีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์งาช้างเพิ่มเติมจากผู้ครอบครองงาช้างรายอื่นเลย ในช่วงสองปีที่ผ่านมา
- ประเทศเวียดนามเองก็ได้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์ป่า รวมถึงงาช้าง ให้เข้มงวดขึ้น ทั้งเพิ่มอัตราค่าปรับและบทลงโทษ ซึ่งรวมถึงโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี สำหรับการลักลอบนำเข้าผลิตภัณฑ์งาช้าง น้ำหนักตั้งแต่ 90 กิโลกรัมขึ้นไป โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายได้ทำการยึดงาช้างนำเข้า ผิดกฎหมายได้หลายครั้ง รวมเป็นน้ำหนักมากถึง 12 ตัน
สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ หรือ IUCN ได้ประเมินว่าประชากรช้างแอฟริกัน ได้ลดลงไปมากถึง 111,000 ตัวในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยถึงแม้ว่าแนวโน้มการฆ่าช้างแอฟริกันจะลดต่ำลงจากจุดสูงสุดเมื่อปี 2554 แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูงมาก หากมองในภาพรวมของทวีป โดยคาดว่าประชากรช้างแอฟริกันโดยรวมจะลดลงอีกในปี 2559
ในขณะที่ฝั่งแอฟริกาตะวันออกพยายามดำเนินมาตรการอย่างหนักเพื่อลดจำนวนช้างที่ถูกฆ่าลงให้อยู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนปี 2551 แต่ทว่าอัตราการฆ่าช้างป่าในแอฟริกากลางยังคงสูงมาก ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียประชากรช้างอย่างน่าเป็นห่วง ในภูมิภาคดังกล่าวในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยผลการสำรวจโดยกองทุนสัตว์ป่าโลก หรือ WWF พบว่า ระหว่างปี 2551 ถึงปี 2559 ประชากรช้างแอฟริกาได้ลดลงไปถึงร้อยละ 66 ในแถบประเทศแคเมอรูน สาธารณรัฐคองโก สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และประเทศกาบอง
ลำดับเหตุการณ์สำคัญก่อนจีนปิดตลาดค้างาช้าง:
25 กุมภาพันธ์ 2558 : จีนประกาศห้ามนำเข้างาช้างแกะสลักที่มาจากประเทศในทวีปแอฟริกาเป็นเวลา 1 ปี
26 กันยายน 2558 : ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงประกาศระหว่างการเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาว่า จีนจะดำเนินการเพื่อค่อยๆ ปิดตลาดค้างาช้างในประเทศ
15 ตุลาคม 2558 : จีนประกาศห้ามนำเข้างาช้างที่ได้มาจากกีฬาล่าสัตว์ในทวีปแอฟริกาเป็นเวลา 1 ปี
22 มีนาคม 2559 : จีนประกาศขยายเวลาการห้ามนำเข้างาช้างไปจนถึง 31 ธันวาคม 2562
31 ธันวาคม 2559 : จีนประกาศว่าจะปิดตลาดค้างาช้างในประเทศอย่างสมบูรณ์ภายใน 1 ปี
31 มีนาคม 2560 : โรงงานแกะสลักงาช้างถูกกฎหมายและร้านค้างาช้างรวม 67 แห่งในจีนปิดตัวลง
31 ธันวาคม 2560 : โรงงานแกะสลักงาช้างถูกกฎหมายและร้านค้างาช้างที่เหลือรวม 105 แห่งปิดตัวลง
2017
ดารา คนดังมากกว่าร้อย ปลุกกระแส #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง ชวนคนไทยละเลิกงาช้าง
ดารา คนดังมากกว่าร้อย ปลุกกระแส #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง ชวนคนไทยละเลิกงาช้าง
ดารา นักธุรกิจ นักกีฬา และผู้มีอิทธิพลทางสังคมของไทยมากกว่าร้อยคนแสดงจุดยืน #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง เพื่อเป็นอีกหนึ่งพลังใจการยุติการฆ่าช้างเอางา และผลักดันให้ สังคมไทยหันหลังให้กับการซื้อ การใช้ผลิตภัณฑ์งาช้าง
กรุงเทพมหานคร 26 กันยายน 2560 – ศิลปิน ดารา นักธุรกิจ และผู้มีอิทธิพลทางสังคมมากกว่า 100คน รวมถึงคนไทยเกือบ 15,000คน แสดงพลังปกป้องช้างทั่วโลกในโครงการรณรงค์ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง I am #IvoryFree (ไอ แอม ไอวอรี่ฟรี) ด้วยการโพสต์รูปคู่ช้างพร้อมกันบนโซเชียลมีเดีย เพื่อเเสดงจุดยืนไม่สนับสนุนการซื้อ การใช้ และการให้ ผลิตภัณฑ์งาช้างเป็นของขวัญอีกต่อไป โดยโครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือกัน ระหว่างองค์กรไวล์ดเอด (WildAid) และ ยูเอสเอด ไวล์ดไลฟ เอเชีย (USAID Wildlife Asia ) ภายใต้องค์การเพื่อการพัฒนา ระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
ทุกปีมีช้างมากถึง 33,000ตัวทุกฆ่าเพื่อเอางาในแอฟริกา เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภค ผลิตภัณฑ์งาช้างในเอเชีย ซึ่งประเทศไทยเป็นทั้งปลายทางและทางผ่านของงาช้างผิดกฎหมายเหล่านั้น
ขณะที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินมาตรการเพื่อแก้ปัญหาการค้างาช้างผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 รัฐบาลออกพระราชบัญญัติงาช้าง เพื่อควบคุมตลาดค้างาช้างถูกกฎหมายที่มาจากช้างบ้านของไทย ที่เป็นช้างเอเชียเท่านั้น นอกจากนั้นยังได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้ช้างแอฟริกันเป็น 1 ในสัตว์คุ้มครองของไทย มีผลห้ามการซื้อขายหรือครอบครองงาช้างแอฟริกัน
โครงการรณรงค์ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 และเพียงช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีดารา ผู้มีชื่อเสียงในสังคมไทยมากกว่าร้อยคน และคนทั่วไป พากันสร้างรูปคู่ช้าง บนเวบไซต์ www.ivoryfreethai.org และแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียกันอย่างคึกคัก พร้อมติดแฮชแท็ก #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง #IvoryFree (ไอวอรี่ ฟรี) เพื่อแสดงจุดยืน ว่าไม่สนับสนุนการซื้อ การใช้ และการให้ผลิตภัณฑ์งาช้าง เป็นของขวัญ เพราะงาช้างควรอยู่คู่ช้างเท่านั้น
นอกจากนั้น เพจชื่อดังทางเฟซบุ้ค 11 เพจยังได้ร่วมสร้างสรรค์เนื้อหาในรูปแบบของตนเองเพื่อสร้าง ความตระหนักให้คนทั่วไปได้ทราบถึงผลกระทบของการซื้อ การใช้ผลิตภัณฑ์งาช้างต่อวิกฤตการณ์ฆ่าช้าง เอางาในแอฟริกาอีกด้วย
แม้ผลการสำรวจเมื่อปี 2559 ของเครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า หรือทราฟฟิค (TRAFFIC) พบว่าผลิตภัณฑ์งาช้างที่วางจำหน่ายแบบเปิดเผยตามร้านค้าในกรุงเทพฯ มีจำนวนลดลงจาก 7,421 ชิ้นในปี 2557 เหลือเพียง 283 ชิ้นเมื่อปีที่แล้ว หรือลดลงมากถึง 96% แต่การสำรวจตลาดออนไลน์ เมื่อปีีที่แล้วระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม กลับพบผลิตภัณฑ์งาช้างอย่างน้อย 2,550ชิ้น ถูกประกาศ ขายบนเฟซบุ้คและอินสตาแกรมอย่างผิดกฎหมายซึ่งสร้างความกังวลว่าการค้าผลิตภัณฑ์งาช้างอาจแค่ กำลังโยกย้ายไปสู่โลกออนไลน์เท่านั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมา กรมศุลกากรได้ยึดงาช้างแอฟริกันจำนวน 1 กิ่ง กับอีก 28 ท่อน น้ำหนักรวม 41 กิโลกรัมได้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ และเมื่อวันที่ 17 กันยายน พบซากช้างป่าเพศผู้ถูกลักลอบ ฆ่าเอางาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง จังหวัดชัยภูมิ โดยช้างมีร่องรอยถูกยิงด้วยกระสุนปืนสองแห่ง และส่วนหัวบริเวณด้านหน้าถูกเฉาะหน้าออกไป พร้อมผ่าหัวกะโหลกเพื่อถอนงา ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อยู่ระหว่างการดำเนินการสืบสวนหาผู้กระทำผิด คดีเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ไทยยังคงเป็นเป้าหมาย และทางผ่านของงาช้างผิดกฎหมาย
ตราบใดที่ยังมีความต้องการและการยอมรับการใช้ผลิตภัณฑ์งาช้างอยู่ในสังคม ประชากรช้างทั่วโลก ก็จะยิ่งตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ องค์กรไวล์ดเอดกล่าวเตือน
“การลดความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์งาช้าง ถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรไวล์ดเอดในความพยายามยุติ การฆ่าช้างเอางา เราหวังว่าการสร้าง ความตระหนักให้สังคมรับรู้ถึงความโหดร้ายที่อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์ งาช้าง จะทำให้สังคมหันหลังให้กับการบริโภคผลิตภัณฑ์งาช้างมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การยุติการฆ่าช้าง เอางาในที่สุด เพราะหยุดซื้อ คือ หยุดฆ่า” มร.จอห์น เบเกอร์ กรรมการผู้จัดการองค์กรไวล์ดเอด กล่าว
และเพื่อเป็นการสร้างค่านิยมใหม่ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง ให้สอดคล้องกับภัยคุกคามที่กำลังเกิดขึ้น กับประชากรช้างโลกในปัจจุบัน องค์กรไวล์ดเอด (WildAid) และองค์การยูเอสเอด ไวล์ดไลฟ เอเชีย (USAID Wildlife Asia) ขอเชิญชวนคนไทยทุกคนร่วมกันสร้างรูปคู่กับช้างที่เวบไซต์ www.ivoryfreethai.org แชร์ผ่านโซเชียลมีเดียทุกประเภทของคุณ พร้อมกับติดแฮชแท็ค #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง และ #IvoryFree โดยสามารถเลือกข้อความรณรงค์ที่ชอบได้
“โครงการรณรงค์ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง I am #IvoryFree แสดงให้เห็นว่า คนไทยพร้อมใจที่จะช่วยกันสร้าง สังคมที่ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง เราหวังว่ารัฐบาลไทยจะพิจารณาเปลี่ยนจุดยืน และเดินหน้าสู่การปิดตลาด ค้างาช้างในประเทศ เพื่อทำให้ไทยเป็นประเทศที่ #IvoryFree #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง ในที่สุด” มร.เบเกอร์ กล่าวเสริม
แม้อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส รวมถึงองค์กรอนุรักษ์ระดับนานาชาติ จะชื่นชมความพยายามแก้ปัญหาการค้างาช้างผิดกฎหมายของไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่หลายฝ่ายยังกังวลว่า แนวทางแก้ปัญหาของไทยอาจยังไม่เพียงพอ กรณีของฮ่องกงแสดงให้เห็นแล้วว่า ตลาดการค้างาช้างถูกกฎหมาย เป็นเพียงฉากบังหน้าให้กับการค้า งาผิดกฎหมายเท่านั้น แม้รัฐบาลฮ่องกงมั่นใจว่ามีกลไกต่างๆ ที่สามารถควบคุมการค้าได้
บุคคลที่มีชื่อเสียงร่วมแสดงจุดยืน #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง ผ่านโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรมได้แก่
ดารา: คุณแหม่ม คัทลียา แมคอินทอช, คุณเจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ์, คุณแพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์, คุณเก๋ ชลลดา เมฆราตรี, คุณญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์, คุณปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก, คุณใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่, คุณแพท ณปภา ตันตระกูล, คุณนก สินจัย เปล่งพานิช, คุณโอปอล์ ปาณิสรา อารยะสกุล, คุณซินดี้ สิรินยา บิชอพ, คุณอาย กมลเนตร เรืองศรี, คุณมิ้นท์ ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง, คุณแพทริเซีย กู๊ด, คุณสายป่าน อภิญญา สกุลเจริญสุข, คุณมะนาว ศรศิลป์ มณีวรรณ์ , คุณโม อมีนา พินิจ, คุณโบว์ เบญจสิริ วัฒนา, คุณวิโอเลต วอเทียร์, คุณมุก มุกดา นรินทร์รักษ์, คุณโย ยศวดี หัสดีวิจิตร, คุณขวัญ อุษามณี ไวทยานนท์, คุณกาละแมร์ พัชรศรี เบญจมาศ, คุณซาร่า โฮเลอร์, คุณแจมมี่ ปาณิชดา แสงสุวรรณ, คุณโย ปราณวรินทร์ ปามี, คุณแพน พรสวรรค์ มะทะโจทย์, คุณเกรซ บุศรินทร์ วงศ์ลีลนนท์, คุณมะเหมี่ยว พรชดา เครือคช, คุณฝน ปริตา ไชยรักษ์, คุณพลอย รัญดภา มันตะลัมพะ, คุณคะน้า ริญญารัตน์ วัชรโรจน์สิริ, คุณพิมประภา ตั้งประภาพร, คุณอ้าย สรัลชนา อภิสมัยมงคล, คุณมัม ลาโคนิคส์, คุณจา พนม ยีรัมย์, คุณเกรท วรินทร ปัญหกาญจน์, คุณนาย ณภัทร เสียงสมบุญ, คุณโน้ต วัชรบูล ลี้สุวรรณ, คุณ อั๋น ภูวนาท คุนผลิน, คุณชาคริต แย้มนาม, คุณเคน ภูภูมิ พงศ์ภาณุ, ดีเจนุ้ย, พันเอกวันชนะ สวัสดี, คุณอ๋อม อรรคพันธ์ นะมาตร์, , คุณไมค์ ภัทรเดช สงวนความดี, คุณมิกค์ ทองระย้า, คุณบูม กิตตน์ก้อง ขำกฤต, คุณหลุยส์ เฮส์ดาร์ซัน , คุณโหน ธนากร ศรีบรรจง, คุณเขตต์ ฐานทัพ , คุณพีท พล เดอะสตาร์, คุณเมฆ จุติ จำเริญเกตุประทีป, คุณบิ๊กเอ็ม กฤตฤทธิ์ บุตรพรหม, คุณเติ้ล สุทธิ์คุณ วันทานุ, คุณเข้ม หัสวีร์ ภัคพงษ์ไพศาล มิสยูนิเวอร์ส: คุณนาตาลี เกลโบว่า มิสยูนิเวอร์ส พ.ศ. 2548, คุณมารีญา พูลเลิศลาภ มิสยูนิเวอร์สไทยแลนด์ พ.ศ.2560 , คุณน้ำตาล ชลิตา ส่วนเสน่ห์ มิสยูนิเวอร์สไทยแลนด์ พ.ศ.2559; นักการเมือง และนักการทูต: หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี, คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี; คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ; มร. กลิน ที. เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ผู้นำธุรกิจ: คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช นายกสมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ) ; คุณกมลา สุโกศล ประธานกรรรมการบริหารกลุ่ม โรงแรมในเครือสุโกศล ; คุณ.วิลเลียม อี. ไฮเน็ค ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน); คุณเดวิด ไลแมน ประธานกรรมการ และผู้บริหารสูงสุดด้านวัฒนธรรมองค์กร บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ; คุณกิริต ชาร์ ประธานกรรมการจีพี กรุ๊ป ; คุณกีรติ อัสสกุล กรรมการบริษัท โอเชียนกลาส จำกัด (มหาชน)
นักข่าว คุณสุทธิชัย หยุ่น, คุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย, คุณกิตติ สิงหาปัด, คุณจอมขวัญ หลาวเพ็ชร , คุณนภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ พระ : พระไพศาล วิสาโล หมอดู : คุณทศพร ศรีตุลา (หมอช้าง)
นักกีฬา: นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย : กัปตันทีม คุณ วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ , คุณปลื้มจิตร์ ถินขาว, คุณพรพรรณ เกิดปราชญ์, คุณปิยะนุช แป้นน้อย, คุณทัดดาว นึกแจ้ง, คุณอรอุมา สิทธิรักษ์, คุณหัตถยา บำรุงสุข, คุณจรัสพร บรรดาศักดิ์, คุณโสรยา พรมหล้า,คุณฐาปไพพรรณ ไชยศรี, คุณนุศรา ต้อมคำ, คุณมลิกา กันทอง, คุณพิมพิชยา ก๊กรัมย์, คุณอัจฉราพร คงยศ, คุณชัชชุอร โมกศรี , คุณสุพัตรา ไพโรจน์, คุณวรรณา บัวแก้ว ; โค้ชวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย โค้ชด่วน ดนัย ศรีวัชรเมธากุล, โค้ชยะ ณัฐพนธ์ ศรีสมุทรนาค, โค้ชชำนาญ ดอกไม้; แพทย์ประจำทีม นพ. พิเชษฐ์ เยี่ยมศิริ; นักกายภาพประจำทีม หมอเนตร ทิพย์รัตน์ แก้วใส; นักฟุตบอลทีมชาติไทย : คุณก้อง เกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์, คุณ ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทย ผู้มีอิทธิพลทางสังคมอื่นๆ : คุณโซไรดา ซาลวาลา ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนช้าง โรงพยาบาลช้างแห่งแรกของโลก และ สัตว์แพทย์: หมอล็อต ภัทรพล มณีอ่อน
เพจโซเชียลมีเดียชื่อดัง : ทูนหัวของบ่าว, สัตว์โลกอมตีน, Low Cost Cos Play, จอนนี่แมวศุภลักษณ์ หมาจ๋า , นัดเป็ด , Contrast, Jod8Riew , คิ้วต่ำ, Sa-ard สะอาด และ บ่นบ่น
คลิกดูภาพดารา คนดังที่ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง ที่นี่
2017
ดารา คนดังแสดงพลัง #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง ชวนคนไทยละเลิกงาช้าง
ดารา คนดังแสดงพลัง #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง ชวนคนไทยละเลิกงาช้าง
ดารา นักธุรกิจ นักกีฬา และผู้มีอิทธิพลทางสังคมของไทยแสดงจุดยืน #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง เพื่อเป็นอีกหนึ่งพลังใจการยุติการฆ่าช้างเอางา และผลักดันให้สังคมไทยหันหลังให้กับการซื้อ การใช้ผลิตภัณฑ์งาช้าง
กรุงเทพมหานคร 12 กันยายน 2560 – ศิลปิน ดารา นักธุรกิจ และผู้มีอิทธิพลทางสังคมจำนวนหนึ่ง พร้อมใจกันแสดงพลังปกป้องช้างทั่วโลกในโครงการรณรงค์ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง I am #IvoryFree (ไอ แอม ไอวอรี่ฟรี) ด้วยการโพสต์รูปคู่ช้างพร้อมกันบนโซเชียลมีเดีย เพื่อเเสดงจุดยืนไม่สนับสนุนการซื้อ การใช้ และการให้ผลิตภัณฑ์งาช้างเป็นของขวัญอีกต่อไป โดยโครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือกัน ระหว่างองค์กรไวล์ดเอด (WildAid) และ ยูเอสเอด ไวล์ดไลฟ เอเชีย (USAID Wildlife Asia ) ภายใต้องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา
ทุกปีมีช้างมากถึง 33,000ตัวทุกฆ่าเพื่อเอางาในแอฟริกา เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภค ผลิตภัณฑ์งาช้างในเอเชีย ซึ่งประเทศไทยเป็นทั้งปลายทางและทางผ่านของงาช้างผิดกฎหมายเหล่านั้น
ขณะที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินมาตรการเพื่อแก้ปัญหาการค้างาช้างผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 รัฐบาลออกพระราชบัญญัติงาช้าง เพื่อควบคุมตลาดค้างาช้างถูกกฎหมายที่มาจากช้างบ้านของไทย ที่เป็นช้างเอเชียเท่านั้น นอกจากนั้นยังได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้ช้างแอฟริกันเป็น 1 ในสัตว์คุ้มครองของไทย มีผลห้ามการซื้อขายหรือครอบครองงาช้างแอฟริกัน
แม้ผลการสำรวจเมื่อปี 2559 ของเครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า หรือทราฟฟิค (TRAFFIC) พบว่าผลิตภัณฑ์งาช้างที่วางจำหน่ายแบบเปิดเผยตามร้านค้าในกรุงเทพฯ มีจำนวนลดลงจาก 7,421 ชิ้นในปี 2557 เหลือเพียง 283 ชิ้นเมื่อปีที่แล้ว หรือลดลงมากถึง 96% แต่การสำรวจตลาดออนไลน์ เมื่อปีีที่แล้วระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม กลับพบผลิตภัณฑ์งาช้างอย่างน้อย 2,550ชิ้น ถูกประกาศ ขายบนเฟซบุ้คและอินสตาแกรมอย่างผิดกฎหมายซึ่งสร้างความกังวลว่าการค้าผลิตภัณฑ์งาช้างอาจแค่กำลังโยกย้าย ไปสู่โลกออนไลน์เท่านั้น
โครงการรณรงค์ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง I am #IvoryFree (ไอ แอม ไอวอรี่ฟรี) จึงเป็นโครงการรณรงค์ที่ใช้สื่อ โซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่ในการแสดงจุดยืน ว่าไม่สนับสนุนการซื้อ การใช้ และการให้ผลิตภัณฑ์งาช้าง เป็นของขวัญ เพราะงาช้างควรอยู่คู่ช้างเท่านั้น และยังเป็นการสร้างความตระหนักให้คนทั่วไปได้ทราบถึง ผลกระทบของการบริโภคผลิตภัณฑ์งาช้างต่อวิกฤตการณ์ฆ่าช้างเอางาในแอฟริกาอีกด้วย
ตราบใดที่ยังมีความต้องการและการยอมรับการใช้ผลิตภัณฑ์งาช้างอยู่ในสังคม ประชากรช้างทั่วโลก ก็จะยิ่งตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ “การลดความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์งาช้าง ถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรไวล์ดเอดในความพยายามยุติการฆ่าช้างเอางา เราหวังว่าการสร้าง ความตระหนักให้สังคมรับรู้ถึงความโหดร้ายที่อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์งาช้าง จะทำให้สังคมหันหลังให้กับ การบริโภคผลิตภัณฑ์งาช้างมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การยุติการฆ่าช้างเอางาในที่สุด เพราะหยุดซื้อ คือ หยุดฆ่า” มร.จอห์น เบเกอร์ กรรมการผู้จัดการองค์กรไวล์ดเอด กล่าว
และเพื่อเป็นการสร้างค่านิยมใหม่ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง ให้สอดคล้องกับภัยคุกคามที่กำลังเกิดขึ้น กับประชากรช้างโลกในปัจจุบัน องค์กรไวล์ดเอด (WildAid) และองค์การยูเอสเอด ไวล์ดไลฟ เอเชีย (USAID Wildlife Asia) ขอเชิญชวนคนไทยทุกคนร่วมกันสร้างรูปคู่กับช้างที่เวบไซต์ www.ivoryfreethai.org แชร์ผ่านโซเชียลมีเดียทุกประเภทของคุณ พร้อมกับติดแฮชแท็ค #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง และ #IvoryFree โดยสามารถเลือกข้อความรณรงค์ที่ชอบได้
ในวันที่12 กันยายน บุคคลที่มีชื่อเสียงพร้อมใจกันแสดงจุดยืน #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง โซเชียลมีเดียผ่าน เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรได้แก่ ดารา: คุณแหม่ม คัทลียา แมคอินทอช, คุณเก๋ ชลลดา เมฆราตรี คุณนก สินจัย เปล่งพานิช, คุณเจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ์, คุณแพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์, คุณโอปอล์ ปาณิสรา อารยะสกุล, คุณซินดี้ สิรินยา บิชอพ, คุณแพทริเซีย กู๊ด, คุณสายป่าน อภิญญา สกุลเจริญสุข, คุณโบว์ เบญจสิริ วัฒนา, คุณวิโอเลต วอเทียร์, คุณอาย กมลเนตร, คุณมะนาว ศรศิลป์ มณีวรรณ์, คุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย, คุณทศพร ศรีตุลา (หมอช้าง), คุณจา พนม ยีรัมย์, คุณโน้ต วัชรบูล ลี้สุวรรณ, คุณนาย ณภัทร เสียงสมบุญ, คุณเกรท วรินทร ปัญหกาญจน์, คุณ อั๋น ภูวนาท; คุณเอม นภพัฒน์จักษ์, คุณอ๋อม อรรคพันธ์ นะมาตร์, คุณโม อมีนา พินิจ, คุณเข้ม หัสวีร์ ภัคพงษ์ไพศาล, คุณมิกค์ ทองระย้า, คุณเติ้ล คุณสุทธิ์คุณ วันทานุ, คุณเกรซ บุศรินทร์ แซ่ลี้, คุณฝน ปริตา ไชยรักษ์; คุณมุกดา นรินทร์รักษ์
มิสยูนิเวอร์ส: คุณนาตาลี เกลโบว่า มิสยูนิเวอร์ส พ.ศ. 2548, คุณมารีญา พูลเลิศลาภ มิสยูนิเวอร์สไทยแลนด์ พ.ศ.2560 , คุณน้ำตาล ชลิตา ส่วนเสน่ห์ มิสยูนิเวอร์สไทยแลนด์ พ.ศ.2559;
นักการเมือง: หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี, คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี;
ผู้นำธุรกิจ: คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช นายกสมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ), คุณกมลา สุโกศล ประธานกรรรมการบริหารกลุ่ม โรงแรมในเครือสุโกศล, คุณ.วิลเลียม อี. ไฮเน็ค ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน); คุณเดวิด ไลแมน ประธานกรรมการ และผู้บริหารสูงสุดด้านวัฒนธรรมองค์กร บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด;
นักกีฬา: นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย คุณพรพรรณ เกิดปราชญ์, คุณปิยะนุช แป้นน้อย, คุณทัดดาว นึกแจ้ง, คุณหัตถยา บำรุงสุข, คุณจรัสพร บรรดาศักดิ์, คุณโสรยา พรมหล้า,คุณฐาปไพพรรณ ไชยศรี, คุณมลิกา กันทอง, คุณพิมพิชยา ก๊กรัมย์, คุณอัจฉราพร คงยศ, คุณ สุพัตรา ไพโรจน์, , คุณวรรณา บัวแก้ว; โค้ชวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย โค้ชด่วน ดนัย ศรีวัชรเมธากุล, โค้ชยะ ณัฐพนธ์ ศรีสมุทรนาค, โค้ชชำนาญ ดอกไม้; แพทย์ประจำทีม นพ. พิเชษฐ์ เยี่ยมศิริ; นักกายภาพประจำทีม หมอเนตร ทิพย์รัตน์ แก้วใส; นักฟุตบอลทีมชาติไทย ก้อง เกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์, ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง หัวหน้าผู้ฝึกสอนสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี และ สัตว์แพทย์: หมอล็อต ภัทรพล มณีอ่อน
“โครงการรณรงค์ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง I am #IvoryFree แสดงให้เห็นว่า คนไทยพร้อมใจที่จะช่วยกันสร้าง สังคมที่ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง เราหวังว่ารัฐบาลไทยจะพิจารณาเปลี่ยนจุดยืน และเดินหน้าสู่การปิดตลาด ค้างาช้างในประเทศ เพื่อทำให้ไทยเป็นประเทศที่ #IvoryFree #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง ในที่สุด” มร.เบเกอร์ กล่าวเสริม
คลิกดูดารา คนดังทุกท่าน ที่ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง ที่นี่
2017
“เฉินหลง” ชวนชาวจีนและเวียดนามเลิกบริโภคเนื้อและเกล็ดตัวลิ่น
‘เฉินหลง’ ชวนชาวจีน และเวียดนามเลิกบริโภคเนื้อและเกล็ดตัวลิ่น ในโฆษณารณรงค์ชิ้นล่าสุด “ตัวลิ่นยอดกังฟู” จากองค์กรไวล์ดเอด
23 สิงหาคม 2560 – องค์กรไวล์ดเอด (WildAid) และองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติ เดอะ เนเจอร์ คอนเซอร์แวนซี (The Nature Conservancy) เปิดตัวโฆษณารณรงค์ที่มี ‘เฉินหลง’ ดาราชื่อดัง และทูตรณรงค์ขององค์กรไวล์ดเอดนำแสดงในวันนี้ เพื่อเชิญชวนให้ชาวจีน และเวียดนามเลิกบริโภค ผลิตภัณฑ์จากตัวลิ่น
ในโฆษณารณรงค์ความยาว 47 วินาทีที่ใช้ชื่อว่า “กังฟู แพงโกลิน” หรือ “ตัวลิ่นยอดกังฟู” เฉินหลงพยายาม สอนวิชาป้องกันตัวเองให้ตัวลิ่นเพื่อให้รอดพ้นจากการถูกล่า แต่ลิ่นปกป้องตัวเองได้เพียงแค่ม้วนตัวเป็น ลูกกลมๆ เท่านั้น
ลิ่น เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ถูกลักลอบค้ามากที่สุดในโลก ในขณะที่คนจำนวนมากไม่รู้จักสัตว์ชนิดนี้ มีการประมาณการว่ามีตัวลิ่นมากถึง 100ล้านตัวถูกฆ่าในช่วง 1 ทษวรรษที่ผ่านมา โดยธรรมชาติของตัวลิ่น เมื่อรู้ว่ากำลังมีภัยคุกคาม มันจะม้วนตัวเป็นลูกกลมๆ ทันทีโดยไม่วิ่งหนี ทำให้มันเป็นสัตว์ที่ถูกล่า ได้อย่างง่ายดาย
ในประเทศจีน และเวียดนาม เนื้อของลิ่นถูกนำไปประกอบอาหาร และเกล็ดของมันนำไปเป็นส่วนประกอบ ในยาแผนโบราณโดยยังมีคนจำนวนหนึ่งเชื่อว่า เกล็ดของมันสามารถรักษาโรคที่เกี่ยวกับข้อ อาการทาง ผิวหนัง หรือแม้กระทั่งโรงมะเร็ง ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง เกล็ดของตัวลิ่นมีเคราตินเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งพบได้ในเส้นผมและเล็บของมนุษย์เช่นกัน และไม่ได้มีสรรพคุณทางยาใดๆ
ในโฆษณารณรงค์ เฉินหลงบอกด้วยว่า ขณะนี้ตัวลิ่นทุกสายพันธุ์ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายแล้ว และขอเชิญชวนให้ชาวจีน และชาวเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศผู้บริโภคหลัก เลิกบริโภคเนื้อและเกร็ด ของตัวลิ่น เพราะหยุดซื้อ คือ หยุดฆ่า
“ไม่น่าเชื่อเลยว่า ทุกวันนี้ยังมีคนที่กินสัตว์ป่าอย่างตัวลิ่น จนทำให้มันใกล้จะสูญพันธุ์ ผมหวังว่า เราจะสามารถโน้มน้าวให้ทุกคนเห็นว่าการบริโภคสัตว์ป่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง” เฉินหลงกล่าว
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ที่ประชุมอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้ สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส มีมติคุ้มครองตัวลิ่น โดยขึ้นทะเบียนตัวลิ่นที่มีอยู่ทั้งหมด 8สายพันธุ์ในโลก อยู่ในบัญชีที่ 1 (Appendix I) สำหรับสัตว์ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งห้ามการค้าตัวลิ่นและชิ้นส่วน ระหว่างประเทศ
“ความจำเป็นเร่งด่วนของการอนุรักษ์ตัวลิ่น ก็คือการรณรงค์เพื่อลดความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์จาก ตัวลิ่น และการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิด” มร.ปีเตอร์ ไนท์ส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารองค์กรไวล์ดเอดกล่าว
ประเทศไทย ถือเป็น 1 ในประเทศทางผ่านของเส้นทางการลักลอบค้าตัวลิ่น โดยที่ผ่านมา มีประเทศต้นทางคืออินโดนิเซีย และใช้เส้นทางผ่านมาเลเซีย เข้ามาที่ไทยที่จังหวัดสงขลา และสิ้นสุดที่จีน หรือเวียดนาม แต่ขณะนี้เริ่มมีการลักลอบค้าตัวลิ่นที่มีต้นทางมาจากทวีปแอฟริกามากขึ้น โดยที่แอฟริกากลาง มีการประเมินล่าสุดพบว่า มีตัวลิ่นถูกล่าราว 400,000ตัวต่อปี
2017
องค์กรไวล์ดเอดเผย คนไทยส่วนใหญ่นิยมบริโภคหูฉลาม ส่งสัญญาณน่าเป็นห่วงชีวิตฉลามโลก
องค์กรไวล์ดเอดเผย คนไทยส่วนใหญ่นิยมบริโภคหูฉลามส่งสัญญาณน่าเป็นห่วงชีวิตฉลามโลก
กรุงเทพมหานคร 18 ก.ค. 2560— องค์กรไวล์ดเอด (WildAid) ได้มีการแถลงการณ์ผลสำรวจความต้องการบริโภคหูฉลามในประเทศไทย ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคนไทยมากกว่าครึ่งเคยบริโภคหูฉลาม และที่น่าเป็นห่วงคือมากกว่า 60% ยังต้องการบริโภคหูฉลามในอนาคต บ่งชี้ว่าควาต้องการบริโภคหูฉลามของคนไทยมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น นอกจากนั้นคนไทยจำนวนมากยังไม่ทราบถึง ผลกระทบจากการบริโภคหูฉลามต่อประชากรฉลามทั่วโลก รวมถึงความโหดร้ายของการฆ่าฉลามเพื่อการค้าหูฉลาม
รายงาน “ผลสำรวจความต้องการบริโภคหูฉลามในประเทศไทย” รวบรวมข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงบทบาท ของประเทศไทยในเวทีการค้าหูฉลามของโลก พร้อมกับผลสำรวจความต้องการบริโภคหูฉลามในประเทศไทยที่จัดทำโดยองค์กรไวล์ดเอด และบริษัทวิจัย แรพพิด เอเชีย (Rapid Asia) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำความเข้าใจ ปัจจัยของการบริโภคหูฉลามของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากการสำรวจพบว่า คนไทยบริโภคหูฉลามอย่่างแพร่หลาย และมีแนวโน้มที่ประเทศไทยจะเป็นตลาดสำคัญของการค้าหูฉลาม โดยคนไทย 57% ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองทั่วประเทศเคยบริโภค หรือยังคงบริโภคหูฉลามตามโอกาสต่างๆ ขณะที่ 29% ได้บริโภคหูฉลามในช่วง 12 เดือนที่่ผ่านมา และที่น่าเป็นห่วงคือ คนไทย 61% ยังต้องการบริโภคหูฉลามในอนาคต โดยให้เหตุผลว่า เพราะความอยาก รู้อยากลอง และเคยได้ยินมาว่าหูฉลามมีรสชาติดี ทั้งที่จริงแล้ว หูฉลามไม่มีรสชาติใดๆ แต่มาจากน้ำซุป ที่ผ่านการปรุงรส
ผู้บริโภคบอกว่า ได้รับประทานหูฉลามบ่อยครั้งที่สุดที่งานแต่งงาน (72%) ทานกับครอบครัวที่ร้านอาหาร (61%) และในงานเลี้ยงธุรกิจ (47%) ซึ่งการสำรวจตลาดโดยองค์กรไวล์ดเอดพบว่า มีร้านอาหารอย่างน้อย 100 ร้านในกรุงเทพมหานครที่มีเมนูหูฉลาม แสดงให้เห็นว่าเมนูดังกล่าวพบได้ทั่วไป และผู้บริโภคสามารถ ซื้อหาได้อย่างง่ายดาย
แต่ละปี มีฉลามกว่า 100 ล้านตัวถูกฆ่าอย่างโหดร้าย ในจำนวนนี้ครีบของฉลามมากถึง 73 ล้านตัวถูกนำมาทำเป็น “ซุปหูฉลาม” หรือประกอบเป็นเมนูอื่นๆ ซึ่งประเทศไทยถูกจัดได้ว่าเป็นตลาดค้าครีบฉลามรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยเกิดจากการที่ผู้บริโภคไม่ตระหนักถึงการกระทำอันโหดร้ายเบื้องหลังเมนูหูฉลามนั้น ที่เหล่าฉลามต่างถูกลากขึ้นมาเพื่อเฉือนครีบของมันออกทั้งหมด ก่อนจะถูกโยนทิ้งกลับลงสู่ท้องทะเล ซึ่งทำให้ฉลามเหล่านั้นต้องจมน้ำตายทั้งเป็น เนื่องจากสูญเสียครีบอันเป็นอวัยวะสำคัญในการดำรงชีวิต
“จากผลการสำรวจ เป็นที่แน่ชัดว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความตระหนักให้คนไทยรับรู้ถึง ผลกระทบจากการบริโภคหูฉลามที่มีต่อประชากรฉลามทั่วโลก และจำเป็นต้องลดความต้องการบริโภค หูฉลาม เพราะหยุดซื้อ คือ หยุดฆ่า” มร.จอห์น เบเกอร์ กรรมการผู้จัดการ องค์กรไวล์ดเอด กล่าว
ตามข้อมูลของศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร ระหว่างพ.ศ.2555-2559 ประเทศไทยส่งออกครีบ ปลาฉลามและหูฉลามแปรรูปมากกว่า 22,467ตัน และนำเข้าผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันมากกว่า 451.57ตัน ปีพ.ศ.2558 เพียงปีเดียว ไทยส่งออกมากกว่า 5,000ตัน ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณผลิตภัณฑ์หูฉลามแปรรูป ที่ฮ่องกงนำเข้าในปีเดียวกัน ทั้งนี้ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า แหล่งที่มาของครีบฉลามที่ไทยนำมาแปรรูป และส่งออกไปนั้นมาจากแหล่งใดบ้าง เนื่องจากประชากรฉลามในน่านน้ำไทยมีจำนวนไม่มากพอ เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกที่ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารได้รับรายงาน ด้วยข้อมูลข้างต้น ทำให้ไทยกลายเป็นผู้ส่งออกหูฉลามแปรรูปอันดับหนึ่งของโลกแทนฮ่องกง
ราคาซุปหูฉลามในประเทศไทย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมการบริโภค โดยเริ่มต้นที่ชามละ 300 บาท ในร้านอาหารข้างทาง ไปจนถึงชามละ 4,000 บาท ในภัตตาคารหรู
ไวล์ดเอดยังได้ทำการสำรวจความตระหนักของคนไทยเกี่ยวกับภัยคุกคามประชากรฉลาม และพบว่า อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของประชาชนทั้งประเทศ ยังไม่ได้รับทราบถึงผลกระทบจากการบริโภคและการค้า หูฉลามต่อประชากรฉลามโลก โดยพวกเขาไม่ทราบว่าส่วนใหญ่ฉลามจะถูกฆ่าเพียงเพื่อเอาครีบของมัน มาประกอบอาหารเท่านั้น และจำนวนประชากรฉลามหลายสายพันธุ์ลดลงมากถึง 98% ในขณะที่คนไทย 85% ไม่ทราบจำนวนฉลามที่ถูกฆ่าในแต่ละปี
นอกจากนี้ในงานแถลงการณ์ไวลด์เอดได้เปิดตัวอินโฟกราฟิก “หูฉลามคนละชาม แลกกี่ล้านชีวิต” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรไวล์ดเอด (WildAid) และ Infographic Thailand อีกด้วย
ดาวน์โหลดรายงานผลสำรวจความต้องการบริโภคหูฉลามในประเทศไทย ภาคภาษาไทยและอังกฤษที่นี่
2017
องค์กรไวล์ดเอดเปิดเผย แอฟริกาใต้กำลังปล่อยให้ผู้อยู่เบื้องหลังอาชญากรรมต่อแรดลอยนวล
เคปทาวน์, แอฟริกาใต้ – รายงานล่าสุดจากองค์กรไวล์ดเอด ช่วยสัตว์ป่า เปิดเผยว่า แอฟริกาใต้กำลังปล่อยให้พ่อค้าคนกลาง และผู้อยู่เบื้องหลังการสั่งฆ่าแรดและลักลอบส่งออกนอแรดจำนวนมากลอยนวลโดย แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของแอฟริกาใต้ในการดำเนินคดี และลงโทษผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญในคดีอาชญากรรมต่อแรด
“เป็นเวลาหลายปีแล้ว ที่เราเห็นบุคคลที่มีหน้ามีตาในสังคมแอฟิรกาใต้คนแล้วคนเล่า รอดพ้นจากการถูกดำเนินคดี ตามระบบยุติธรรม แม้พวกเขาเหล่านั้นจะอยู่เบื้องหลังการสั่งฆ่าแรดและลักลอบค้านอแรด แอฟริกาใต้ต้องไม่ปล่อยให้ การคอรัปชั่น การปฏิบัติหน้าที่ที่ไร้ประสิทธิภาพ และความหละหลวมในระบบดำเนินต่อไป การหยุดยั้งกลุ่มอาชญากรรม ทำได้โดยการดำเนินคดีกับคนในระดับหัวหน้า ไม่ใช่แค่นักล่าระดับล่าง” มร.ปีเตอร์ ไนทส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร องค์กรไวล์ดเอดกล่าว
รายงานขององค์กรไวล์ดเอด ระบุว่า คดีที่มีผู้ต้องหาอยู่ในแวดวงการล่าสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเพื่อการล่าหรือการพานิชย์ หรือ สัตวแพทย์ หลายคดีมักถูกยกฟ้อง เลื่อนการพิจารณา หรือมีค่าปรับอันน้อยนิด ในขณะที่ผู้ลักลอบล่าแรดระดับปฏิบัติการ มักจะถูกประหาร หรือถูกตัดสินจำคุกระยะยาว
ธุรกิจเกี่ยวการเพาะเลี้ยงแรดเพื่อการล่าและการพานิชย์ในแอฟริกาใต้อยู่เบื้องหลังคดีฟ้องร้องอันยาวนานต่อรัฐบาลที่ได้ประกาศ ห้ามการค้านอแรดในประเทศเมื่อปี 2552 และในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญแอฟริกาใต้ประกาศให้การขายนอแรดในประเทศ เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายอีกครั้งเมื่อเดือนที่แล้ว ยิ่งไปกว่านั้นแอฟริกาใต้กำลังพิจารณาอนุญาตให้การส่งออกนอแรด ถูกกฎหมายเช่นกัน
“เช่นเดียวกับประเทศที่อนุญาตให้มีการค้างาช้างอย่างถูกกฎหมาย มันเป็นเพียงฉากบังหน้าให้กับการลักลอบค้างาช้าง โดยผิดกฎหมาย และยิ่งทำให้คนมีความต้องการซื้อสูงขึ้น” มร.ไนทส์ กล่าว “การอนุญาตให้ค้านอแรดอย่างถูกกฎหมาย ทำให้เกิดกลไกการลักลอบนำนอที่ได้จากการฆ่าแรดมาสวมรอยเพื่อค้าขาย ส่งผลให้มีการฆ่าแรดเพิ่มขึ้น และบั่นทอนความพยายามลดความต้องการนอแรดในประเทศที่มีความต้องการสูง ซึ่งขณะนี้เริ่มจะเห็นผล”
ความพยายามในการรณรงค์เพื่อลดความต้องการนอแรดในเวียดนาม และจีน มีความคืบหน้าอย่างมาก ผลการสำรวจตลาดแสดงให้เห็นว่า ราคาขายส่งนอแรดลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่าในประเทศดังกล่าว และผลการสำรวจโดยองค์กรไวล์ดเอด พบด้วยว่า คนที่ยังเชื่อว่านอแรดมีสรรพคุณทางยามีจำนวนลดน้อยลงมาก
“การปกป้องประชากรแรดในอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ ในแอฟริกาใต้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นมาก ประกอบกับความต้องการนอแรด กำลังลดลงในเอเชีย แต่ความพยายามทั้งหมดอาจล้มเหลว เพราะการอนุญาตให้ค้านอแรดอีกครั้ง รวมถึงการที่ประเทศแอฟริกาใต้ไม่เอาจริงกับการดำเนินคดีผู้อยู่เบื้องหลังกลุ่มอาชญากรรมต่อแรด ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐรู้ดีว่าคือใคร” มร.ไนทส์ กล่าว
แอฟริกาใต้กำลังพ่ายแพ้สงครามปกป้องแรดรอบใหม่
จากความล้มเหลวในการดำเนินคดีกับผู้อยู่เบื้องหลัง และการสร้างความสับสนต่อประเทศที่บริโภคนอแรด
ข้อค้นพบสำคัญจากรายงาน
การขาดการดำเนินคดีกับผู้อยู่เบื้องหลัง
- วิกฤตการการฆ่าแรดเพื่อเอานอในแอฟริกาใต้ มีกลุ่มองค์กรอาชญากรรมอยู่เบื้องหลัง และกลุ่มอาชญากรรมเหล่านี้ ได้รับการอำนวยความสะดวกให้กระทำผิดเพราะการคอรัปชั่น กระบวนการทางกฎหมายที่ขาดประสิทธิภาพ และความล้มเหลวที่จะดำเนินคดีกับผู้อยู่เบื้องหลังกลุ่มอาชญากรรม โดยเฉพาะผู้ค้าในระดับกลางและระดับสูง
- ในขณะที่ผู้ลักลอบล่าแรดระดับปฏิบัติการจำนวนมากถูกตัดสินจำคุก ผู้ต้องสงสัยที่เป็นพ่อค้าคนกลางและผู้อยู่เบื้องหลังระดับสูง ซึ่งอยู่ในแวดวงธุรกิจการล่าสัตว์ป่า และสัตวแพทย์มักจะถูกปล่อยตัว แม้กระทั่งผู้กระทำผิดซ้ำสองก็รอดพ้นจากการถูก ดำเนินคดี
- องค์กรไวล์ดเอดพบว่า คดีที่มีผู้มีหน้ามีตาในสังคมตกเป็นผู้ต้องหา มักจะถูกเลื่อนการพิจารณา ยกฟ้อง การต่อรองคำรับสารภาพ การคุกคามพยาน การลดหย่อนโทษ หรือมีโทษปรับอันน้อยนิดที่ไม่สมกับการกระทำผิด และไม่เพียงพอที่จะยับยั้งคนจากการกระทำผิด
การประกาศให้การค้านอแรดเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายในประเทศ
- ศาลรัฐธรรมนูญแอฟริกาใต้ประกาศให้การค้านอแรดในประเทศถูกกฎหมายอีกครั้ง แม้รัฐบาลแอฟริกาใต้ ประกาศห้ามค้านอแรดในประเทศตั้งแต่ปี 2552 ส่วนหนึ่งเพราะไม่ได้ดำเนินตามแนวทางการควบคุม ตลาดค้านอแรดโดยถูกต้องตามกระบวนการ
- ในรายงานฉบับนี้ องค์กรไวล์ดเอดได้แสดงความเป็นห่วงในร่างกฎหมายฉบับใหม่ซึ่งจะเปิดทางให้ สามารถส่งออกนอแรดได้ “แผนของแอฟริกาใต้ที่จะอนุญาตให้ส่งออกนอแรด มีแนวโน้มจะทำให้สถานการณ์ ของประชากรแรดย่ำแย่ลงกว่าเดิม” วัตต์ส กล่าว
- องค์กรไวล์ดเอดเชื่อว่า แอฟริกาใต้กำลังสร้างความสับสนให้กับประเทศที่ยังมีความต้องการนอแรดสูง และไวล์ดเอดเป็นห่วงว่า แอฟริกาใต้จะไม่สามารถควบคุมตลาดการค้านอแรดได้ เห็นได้จากตัวอย่างของ ประเทศที่มีตลาดค้างาช้างถูกกฎหมาย ยิ่งทำให้ความต้องการงาช้างมีมากขึ้น และการฆ่าช้างแอฟริกาเพื่อเอางา มากถึงปีละ 30,000 ตัว ยังคงดำเนินต่อไป
การฆ่าแรดเพื่อเอานอที่แฝงมาในรูปแบบของการล่าสัตว์เพื่อการกีฬา
- รายงานของไวล์ดเอดพบว่า เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายล้มเหลวที่จะตรวจจับผู้แสวงผลประโยชน์จากช่องโหว่ ของกฎระเบียบเกี่ยวกับการล่าสัตว์เพื่อการกีฬาในช่วง 3 ปี อีกทั้งยังไม่สามารถที่จะดำเนินการใดๆ กับผู้กระทำผิด อีกใน 3 ปีต่อมา และกว่าที่กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับใช้ นอแรดจากแรดขาวมากกว่า 200ตัว ได้ถูกส่งออกไปยัง เวียดนามแล้ว
- เมื่อปลายปี 2559 นักล่าสัตว์ชาวเวียดนามได้รับอนุญาตให้ยิงแรดขาวในรูปแบบของการล่าสัตว์เพื่อกีฬา ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ชาวเวียดนามรายนี้ถูกตั้งข้อหาคดีอาญานับพันคดี รายงานฉบับนี้ตั้งข้อสังเกตว่า นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ของแอฟริกาใต้ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมาย และควบคุมธุรกิจการล่าสัตว์ เพื่อการกีฬาได้อย่างรัดกุม
การลดความต้องการนอแรด
- วัตต์ส ระบุในรายงานว่า มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การรณรงค์เพื่อลดความต้องการนอแรดในหลายประเทศในเอเชีย กำลังทำให้ทัศนคติของสาธารณชนและพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง ความตระหนักรู้ของประชาชนที่มีมากขึ้น ในประเทศเหล่านี้ กำลังสะท้อนไปยังการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายของรัฐบาล
- ราคาขายนอแรดในเวียดนาม และจีน ลดลงราวครึ่งหนึ่ง และการสำรวจตลาดพบว่า ความต้องการซื้อนอแรด ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
- ผลสำรวจที่จัดทำโดยองค์กรไวล์ดเอดในจีน และเวียดนามพบว่า มีประชาชนน้อยกว่า 1ใน 4 ที่ยังเชื่อว่านอแรด มีสรรพคุณทางยา และจำนวนชาวเวียดนามที่ยังเชื่อว่านอแรดสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ลดลงจนเหลือน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จากเกือบ 35% เมื่อปี 2557
- ในเดือนมิถุนายน 2560 ประเทศเวียดนามกำลังจะเพิ่มโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อแรด ขณะที่แอฟริกาใต้ แทบจะไม่ได้ดำเนินการอะไรที่จะเป็นการสนับสนุนความพยายามรณรงค์เพื่อลดความต้องการนอแรดและงาช้าง ในประเทศที่ยังมีความต้องการผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในระดับสูง
ข้อเสนอองค์กรไวลด์เอด
องค์กรไวล์ดเอดมีข้อเสนอแนะให้แอฟริกาใต้ดำเนินการอย่างทันทีทันใดดังนี้ :
- จัดตั้งศาลพิเศษเพื่อพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมต่อแรดทั้งหมด
- ดำเนินคดีอย่างเด็ดขาดกับพ่อค้าคนกลาง และผู้อยู่เบื้องหลังการก่ออาชญากรรม
- ประกาศห้ามการค้านอแรดเพื่อการพานิชย์ โดยดำเนินตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
- เรียกร้องให้ประเทศโมซัมบิกดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการคอรัปชั่น การฆ่าแรด และการลักลอบ ส่งออกนอแรด
- สนับสนุนโครงการรณรงค์เพื่อลดความต้องการนอแรด โดยเฉพาะที่ประเทศจีน และเวียดนาม
อ่านรายงานฉบับเต็มภาษาอังกฤษได้ที่นี่
ข้อมูลเพิ่มเติม
จำนวนประชากรแรดทั่วโลก ลดลงไปถึง 95% ในช่วง 40ปีที่ผ่านมา
สงครามปกป้องแรดครั้งที่ 1 พ.ศ. 2508-2538
ความต้องการนอแรดพุ่งสูงสุด ระหว่างปี พ.ศ.2508-2538 ประชากรแรดในประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกา ยกเว้นแอฟริกาใต้ และนามิเบีย ลดลงอย่างมาก ด้ามจับกริชที่ทำมาจากนอแรดเป็นที่ต้องการอย่างสูงในประเทศเยเมน โดยเฉพาะในทศวรรษที่ 60-70 ซึ่งเป็นผลมาจากยุคทองของธุรกิจน้ำมันในซาอุดิอาระเบีย ทำให้ชาวเยเมนจำนวนหนึ่ง ร่ำรวยขึ้นมาก และพวกเขาซื้อผลิตภัณฑ์นอแรดเพื่อบ่งบอกฐานะ ต่อมามติของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิด สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตสที่ห้ามการค้านอแรดระหว่างประเทศเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2520 ขณะที่ พ.ศ.2537 เกิดสงครามกลางเมืองในเยเมน ทั้ง 2 เหตุการณ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความต้องการนอแรดลดลง ซึ่งทำให้การล่าแรดลดน้อยลงไปด้วย รวมทั้งหลายประเทศในเอเชียขณะนั้น ประกาศห้ามใช้นอแรดเป็นส่วนผสมในยา และมีการควบคุมอย่างเข้มงวด
สงครามปกป้องแรดรอบใหม่
ในปีพ.ศ. 2551 การล่าแรดเพื่อเอานอพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง โดยตลาดหลักที่ต้องการนอแรดคือ เวียดนาม และจีน ขณะที่ในช่วงปี พ.ศ. 2557 กลุ่มอาชญากรรมเวียดนามได้แสวงหาผลประโยชน์จากการล่าสัตว์เพื่อกีฬาที่ถูกกฎหมายในแอฟริกาใต้ ลักลอบส่งออกนอแรดไปยังเวียดนาม นอกจากนั้นชาวจีนจำนวนมากขึ้นที่เข้าไปลงทุนในทวีปแอฟริกา ทำให้เป็นที่ต้องสงสัยว่า ชาวจีนจำนวนหนึ่งลักลอบนำนอแรดส่งออกไปยังจีนเช่นกัน ปัจจัยเหล่านี้ทำให้หลายฝ่ายมองว่า นี่คือสงครามที่ทุกฝ่ายจะต้อง ร่วมมือกันเพื่อปกป้องประชากรแรดรอบใหม่
2017
ไวล์ดเอดผนึกกำลังผู้นำภาคธุรกิจ 15 ท่านเปิดตัวโครงการ ผู้นำธุรกิจไทยยืนหยัดปกป้องช้าง
ผู้นำธุรกิจไทย ยืนหยัดปกป้องช้าง ให้คำมั่นไม่ซื้อ ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์งาช้าง
กรุงเทพมหานคร (13 มีนาคม 2560) – องค์กรไวล์ดเอด ช่วยสัตว์ป่า (WildAid) ผนึกกำลังผู้นำภาคธุรกิจไทย 15 ท่าน เปิดตัวโครงการ “ผู้นำธุรกิจไทยยืนหยัดปกป้องช้าง” ในวันช้างไทย ด้วยการลงนามไม่ซื้อ ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากซากสัตว์ป่าผิดกฎหมายและงาช้างรวมทั้งแสดงความมุ่งมั่นที่จะปกป้องสัตว์ป่าของไทย และเรียกร้องให้ภาคธุรกิจแสดงจุดยืนไม่สนับสนุนการค้างาช้าง
วิกฤตการณ์ฆ่าช้างเอางาในทวีปแอฟริกาพุ่งสูงมากถึง 33,000 ตัวต่อปี โดยประเทศไทยเป็น 1 ในปลายทาง และทางผ่านของงาช้างผิดกฎหมายเหล่านี้ที่ถูกลักลอบไปขายในจีน และตลาดอื่นๆ ที่มีความต้องการงาช้าง เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องนี้องค์กรไวล์ดเอด จึงร่วมกับคุณวิลเลียม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค ประธานกรรมการ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ชักชวนผู้นำธุรกิจ องค์กรดังในไทยลงนามให้คำมั่นเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการปกป้องช้างและสัตว์ป่า รวมทั้ง แสดงพลังไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์งาช้าง และการค้างาช้าง
“ในฐานะผู้นำธุรกิจผมคิดว่าพวกเราควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีในการกระตุ้นให้สังคมรับรู้ถึงวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นกับช้าง รวมทั้งสนับสนุนความมุ่งมั่นของคนไทยในการปกป้องช้าง และสิ่งแวดล้อม เราทุกคนต้องช่วยกันลดความต้องการผลิตภัณฑ์งาช้าง เพราะ หยุดซื้อ คือ หยุดฆ่า” นายไฮเน็คกล่าว
ผู้นำทางธุรกิจทั้ง 15 ท่านที่ลงนามให้คำมั่นในครั้งนี้ คือ
- คุณวิลเลียม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
- หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล อดีต รองนายกรัฐมนตรี
- คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ธนาคารกสิกรไทย
- คุณบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
- คุณชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช นายกสมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ)
- คุณเดวิด ไลแมน ประธานกรรมการ และผู้บริหารสูงสุดด้านวัฒนธรรมองค์กร บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- คุณฮาราลด์ ลิงค์ ประธานบี.กริม
- คุณกมลา สุโกศล ประธานกรรรมการบริหารกลุ่ม โรงแรมในเครือสุโกศล
- นายกีรติ อัสสกุล กรรมการบริษัท โอเชียนกลาส จำกัด (มหาชน)
- คุณกิริต ชาห์ ประธานกรรมการจีพี กรุ๊ป
- คุณริชาร์ด เดวิด ฮัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฮานา
- คุณสันติ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด
- คุณสุรินทร์ โอสถานุเคราะห์ ประธานกรรมการบริษัท บางกอกรินเวสท์ จำกัด
- คุณสุจินต์ หวั่งหลี ประธานกรรมการบริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
องค์กร ไวล์ดเอด ยังได้เผยแพร่รายชื่อนักธุรกิจต้นแบบกลุ่มแรก 15ท่าน ที่ร่วมลงนามในคำมั่นนี้ บนเวบไซต์ www.ivoryfreethai.org หวังกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและสนับสนุนในหมู่ภาคธุรกิจ โดยขอเชิญชวนให้ผู้นำองค์กร และคนทั่วไปร่วมกันลงนามในคำมั่นนี้ด้วยกัน เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือ การลดความต้องการผลิตภัณฑ์งาช้าง และการยุติการค้างาช้างในประเทศ
“ผมเชื่อว่า เมื่อผู้นำธุรกิจและคนไทยได้รับรู้ถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับช้าง พวกเขาจะให้การสนับสนุน และปกป้องช้างอย่างเต็มที่แน่นอน” นายไบรอัน อดัมส์ ผู้จัดการโครงการรณรงค์ประจำภูมิภาคเอเชีย องค์กรไวล์ดเอด กล่าว
ซ้าย-ขวา 1.คุณวารินทร์ สัจเดว,พิธีกร,ผู้ประกาศข่าว 2.จอห์น โรเบิร์ตส์ ผู้อำนวยการมูลนิธิช้างสามเหลี่ยมทองคำ 3.คุณกีรติ อัสสกุล กรรมการบริษัทโอเชียนกลาส จำกัด (มหาชน) 4.คุณวิลเลียม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค, ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด (มหาชน) 5.คุณไบรอัน อดัมส์, ผู้จัดการโครงการรณรงค์ภูมิภาคเอเชีย,ไวล์ดเอด 6.คุณสมเกียรติ สุนทรพิทักษ์กูล ผู้อำนวยการกองกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา 7.คุณหญิงชดช้อยโสภณพนิช นายกสมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ) 8.คุณเดวิด ไลแมน, ประธานกรรมการและผู้บริหารสูงสุดด้านวัฒนธรรมองค์กรบริษัทติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 9.คุณแพททริคโบท, ผู้จัดการใหญ่โรงแรมอนันตราสยาม
ช้าง เป็นสัตว์ประจำชาติของไทย การอนุรักษ์และปกป้องช้าง จึงถือเป็นความภาคภูมิใจ และเป็นสิ่งที่ ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน รัฐบาลไทยดำเนินมาตรการหลายอย่าง เพื่อแก้ปัญหาการค้างาช้าง ผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี 2558 ไทยออกพระราชบัญญัติงาช้าง เพื่อควบคุมตลาดค้างาช้าง ถูกกฎหมายที่มาจากช้างบ้านของไทยที่เป็นช้างเอเชียเท่านั้น รัฐบาลยังได้แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้ช้างแอฟริากันเป็น 1 ในสัตว์คุ้มครอง ของไทย มีผลห้ามการซื้อขายหรือครอบครอง งาช้างแอฟริกัน
แม้อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส รวมถึงองค์กรอนุรักษ์ จะชื่นชมความพยายามแก้ปัญหาการค้างาช้างผิดกฎหมายของไทยในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา แต่หลายฝ่ายยังกังวลว่า แนวทางแก้ปัญหาของไทยอาจยังไม่เพียงพอ กรณีของฮ่องกงแสดงให้ เห็นแล้วว่า ตลาดการค้างาช้างถูกกฎหมาย เป็นเพียงฉากบังหน้าให้กับการค้างาผิดกฎหมายเท่านั้น แม้รัฐบาลฮ่องกงมั่นใจว่า มีกลไกต่างๆ ที่สามารถควบคุมการค้าได้
ในระดับนานาชาติ ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยอนุสัญญาไซเตสเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีมติเรียกร้องให้ทุกประเทศดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อปิดตลาดค้างาช้างในประเทศของตนอย่างจริงจัง
“เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลไทยจะพิจารณาเปลี่ยนจุดยืน และเดินหน้าปิดตลาดค้างาช้างในประเทศ ตามอย่างจีน สหรัฐ และฮ่องกงที่ได้ออกมาประกาศก่อนหน้า และดำเนินตามมติการประชุม อนุสัญญาไซเตส” นายอดัมส์กล่าว
ลงนามปกป้องช้างด้วยกัน www.ivoryfreethai.org